top of page

ผลกระทบและภัยทางอินเตอร์เน็ต

การใช้งานอินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์และปลอดภัย

       การใช้งานอินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์

       

       - ด้านการศึกษา ใช้ค้นคว้าหาข้อมูลด้านวิชาการ หรือใช้เป็นระบบการเรียนการสอนแบบ E-Learning

        - ด้านการสื่อสาร การรับส่งข้อมูลผ่านระบบอีเมล์ (E-mail) การประชุมผ่าน video conference

        - ด้านธุรกิจและการค้า การนำเสนอสินค้าผ่านทางเว็บไซท์หรือการเปิดร้านค้าออนไลน์ การโอนเงินผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต หรือการทำป้ายโฆษณา

        - ด้านธุรกิจงานและการสร้างรายได้ การส่งข้อมูลงานระหว่างฝ่ายต่างๆ การสร้างเว็บไซต์ การหารายได้ทางอินเตอร์เน็ต หรืองานออนไลน์

 

       การใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัย

 

       1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ไม่บอกชื่อนามสกุลจริง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ โดยเฉพาะเบอร์โทรศัพท์บ้าน เพราะผู้ร้ายสามารถใช้หมายเลขโทรศัพท์บ้านเพื่อโทรสอบถามที่อยู่ของเจ้าของบ้านได้จากบริการ 1133 ซึ่งเป็นบริการมาตรฐาน โจรผู้ร้ายและพวกจิตวิปริตอาจมาดักทำร้ายคุณได้ เวลาแช็ตก็ให้ใช้ชื่อเล่นหรือชื่อสมมุติแทน

       2. ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ รวมถึงรหัสบัตรต่างๆ เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ฯลฯ ให้กับผู้อื่น แม้แต่เพื่อน เพราะเพื่อนเองก็อาจถูกหลอกให้มาถามจากเราอีกต่อหนึ่ง

       3. ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ

       4. ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต เว้นเสียแต่ว่าได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และควรมีผู้ใหญ่หรือเพื่อนไปด้วยหลายๆ คน เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ

       5. ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ เด็กต้องปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยต้องใช้วิจารณญาณ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ขาย เช่น ดูประวัติ ดูการวิจารณ์จากผู้ซื้อรายก่อนๆ ที่เข้ามาเขียนไว้ พิจารณาวิธีการจ่ายเงิน ฯลฯ และต้องไม่บอกรหัสบัตรเครดิต และเลขท้าย 3 หลักที่อยู่ด้านหลังบัตรให้แก่ผู้ขาย หรือใครๆ โดยเด็ดขาด

       6. ไม่เผลอบันทึกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ การใช้คอมพิวเตอร์ที่โรงเรียน ที่ร้านอินเทอร์เน็ต ที่บ้านคนอื่นต้องระวังเวลาใส่ชื่อยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดในการ ล็อคอิน เข้าไปในเว็บไซต์ หรือเปิดใช้โปรแกรมต่างๆ เช่น เปิดเช็คอีเมล์ เปิดใช้โปรแกรมแชท เปิดดูข้อมูลทางการเงินส่วนตัวผ่านเว็บไซต์ธนาคารที่ให้บริการออนไลน์

       7. จัดการกับอีเมล์ขยะ ปกติการใช้อีเมล์จะมีกล่องจดหมายส่วนตัว หรือ Inbox กับ กล่องจดหมายขยะ (Junk mail box หรือ Bulk Mail) เพื่อแยกแยะประเภทของอีเมล์ เราจึงต้องทำความเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะคัดกรองอีม์ด้วยตัวเอง เพื่อกันไม่ให้มาปะปนกับจดหมายดีๆ ซึ่งเราอาจเผลอไปเปิดอ่าน แล้วถูกสปายแวร์ แอดแวร์เกาะติดอยู่บนเครื่อง หรือแม้แต่ถูกไวรัสคอมพิวเตอร์เล่น

       8. จัดการกับแอดแวร์ สปายแวร์ จัดการกับสปายแวร์แอดแวร์ที่ลักลอบเข้ามาสอดส่องพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตด้วยการซื้อโปรแกรมหรือไปดาวน์โหลดฟรีโปรแกรมมาดักจับและขจัดเจ้าแอดแวร์ สปายแวร์ออกไปจากคอมพิวเตอร์

        9. จัดการกับไวรัสคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมีโปรแกรมสแกนดักจับและฆ่าไวรัส ซึ่งอันนี้ควรจะดำเนินการทันทีเมื่อซื้อเครื่องคอม เนื่องจากไวรัสพัฒนาเร็วมาก มีไวรัสพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน แม้จะติดตั้งโปรแกรมฆ่าไวรัสไว้แล้ว ถ้าไม่ทำการอัพเดทโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ต

bottom of page