top of page

ผลกระทบและภัยทางอินเตอร์เน็ต

ภัยทางอินเทอร์เน็ต

       ปัญหาอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

       มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ เช่น เจาะระบบรักษาความปลอดภัย ให้สามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อกระทำการใดๆ กับระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ หรือข้อมูลที่มิชอบต่างๆ อาจทำให้เกิดความเสียหายในเชิงธุรกิจ การบิดเบือนข้อเท็จจริง

การขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยการใช้ช่องทางสื่อสารหรืออินเทอร์เน็ต เช่น การแชท การโทรศัพท์ ในการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนตัวของบุคคล โดยการปลอมแปลงเป็นผู้ดูแลระบบ หรือผู้ดูแลข้อมูล เป็นบุคคลใกล้ชิด หรือสร้างสถานการณ์ฉุกเฉินที่เสมือนจริง เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อเกิดความไว้ใจ หรือหลงเชื่อ และเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

 

       ปัญหาการล่อลวงในสังคม

       จากการทีผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ตบางคน สร้างตัวตนขึ้นมาใหม่ในการติดต่อสนทนากับผู้อื่น โดยให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เช่น เพศ อายุ ภาพถ่าย และอาชีพ เพื่อล่อลวงให้คู่สนทนาสนใจตัวตนใหม่ และนัดพบเพื่อการกระทำอันตรายต่างๆ จนเกิดปัญหาร้ายแรงต่อทรัพย์สินหรือต่อตนเอง

 

       ปัญหา Wi-Fi ปลอม

       ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า มักจะมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย (ทั้งแบบฟรีและมีเงื่อนไข) ซึ่งอาชญากรไซเบอร์รู้ถึงพฤติกรรมนี้ดี ว่าเมื่อคนเราเจอสัญญาณฟรีในที่สาธารณะ เรามักจะลองเข้าเพื่อใช้งาน ซึ่งอาชญากรไซเบอร์ก็ได้เตรียมเว็บไซต์ปลอมสำหรับการให้บริการอินเตอร์เน็ตฟรีขึ้น โดยเมื่อเหยื่อได้ทำการเชื่อมต่อสัญญาณ จะมีหน้าต่างปรากฏในลักษณะที่แจ้งถึงเงื่อนไขการใช้บริการฟรีอินเตอร์เน็ต เพียงแต่ให้เหยื่อกรอกข้อมูลก็สามารถเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตฟรี อาจจะเป็นเพียงการ กรอกข้อมูล อี-เมล์ และตั้งพาสเวิร์ดสำหรับการใช้งาน แต่โดยปกติคนเราก็มักจะใช้พาสเวิร์ดซ้ำๆ กันอยู่แล้ว ทำให้เหล่าอาชญากรไซเบอร์ทำการสุ่มและเดาได้ว่าจะใช้พาสเวิร์ดที่ได้มาทำอะไรต่อไป และเมื่อเหยื่อกรอกข้อมูลกับเป็นการส่งข้อมูลนั้นไปยังอาชญากรไซเบอร์ แถมยังไม่สามารถเข้าใช้งานได้อีก    

         ไวรัส (virus)

          เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานและอาจร้ายแรงถึงขั้นทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้เสียหายทั้งระบบ โดยจะทำการแนบโปรแกรมแปลกปลอมเข้าไปกับโปรแกรมอื่น แล้วแพร่กระจายตัวเองจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ โดยผ่านสื่อบันทึกข้อมูล เช่น แผ่นบันทึก แฟลชไดรฟ์ หรือผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         เวิร์ม (worm)

         หรือหนอนคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่สามารถคัดลอกตัวเองแล้วส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทันที โดยอาศัยการเจาะผ่านช่องโหว่ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ อินเทอร์เน็ตที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ โดยจะเข้าไปกีดขวางการทำงานของระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ช้าลง หรือ หยุดทำงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         ม้าโทรจัน (trojan horse)

         เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่ผ่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยการแอบแฝงตัวเองว่าเป็นโปรแกรมอื่น เช่น การหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเป็นโปรแกรมเกม หรือโปรแกรมสกรีนเซิร์ฟเวอร์ ที่ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้งานดาวน์โหลดโปรแกรมนี้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว อาจจะมีไวรัสซึ่งติดมากับม้าโทรจันนี้เข้าไปทำความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         สปายแวร์ (spyware)

         เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้คอยติดตาม บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล รายงานข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนบนอินเทอร์เน็ต หรือ ทำการเปลี่ยนการตั้งค่าของโปรแกรมเบราว์เซอร์ใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญ และ ทำให้ประสิทธิภาพให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ช้าลง เช่น คีย์ล๊อคเกอร์ (key-logger) เป็นสปายแวร์ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลการกดแป้นคีย์บอร์ดของผู้ใช้ ข้อมูลที่จัดเก็บจะถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ก่ออาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ ได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         แอดแวร์ (adware)

         เป็นโปรแกรมแอบแฝงที่เมื่อโปรแกรมได้รับการดาวน์โหลดหรือมีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะแสดงหน้าต่างป๊อปอัพ (pop–up) ที่มีการโฆษณาสินค้าออกมาเป็นระยะๆ โดยอัตโนมัติ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         สแปม (spam)

         เป็นการใช้ระบบส่งอีเมล์ในการส่งข้อความที่ไม่พึงประสงค์ ให้กับผู้ใช้เป็นจำนวนมาก สแปมที่พบบ่อย คือการส่งข้อความโฆษณาขายสินค้า บริการ ท่องเที่ยว ชักชวนประกอบอาชีพที่มีรายได้สูง ผ่านระบบอีเมล์ที่เรียกว่า เมล์ขยะ (junk mail)

 

 

bottom of page